วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

กาบันทึกครั้งที่2 วันศุกร์ ที่15 เดือนมกราคม พ.ศ.2559 เวลาเรียน13.30-17.30น.

เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
              อาจารย์แจกกระดาษให้คนละแผ่น แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือไม่พอ แสดงว่ากระดาษน้อยกว่าคน แต่ถ้าอยากรู้ว่าคนมากกว่ากระดาษเท่าไหร่ก็นับจำนวนคนที่เหลืออยู่ว่าขาดอีกกี่แผ่น ในคาบนี้อาจารย์ได้สอนความรู้เกี่ยวกับการนับจำนวนขั้นพื้นฐาน ท้ายคาบอาจารย์ได้สอนหรืออธิบายในการทำ mind mapping เพื่อแตกประเด็นได้ชัดและเข้าใจมากขึ้น

ทักษะ
  • ฝึกทักษะการสังเกต
  • ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ฝึกทักษะการนับจำวน
กาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาในวิชาอื่นๆได้
บรรยากาศในห้องเรียน

      -บรรยากาศในห้องเย็นสบาย เพื่อนๆตั้งใจฟัง 

ประเมินวิธีการสอน

      -ครูสร้างสถานการณ์ เพื่อให้นักศึกษารู้จักการแก้ปัญหาเอง รู้จักคิดวิเคราะห์ 

คุณธรรมจริยธรรม
  • ตรงต่อเวลา
  • รับผิดชอบในหน้าที่
  • การเสียสละ








ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์
สรุปเรื่องการแทนค่า
             
         ครูจากโรงเรียน springfield ได้ใช้เทคนิคการสอนบวกเลขแบบ Place value number โดยเริ่มจาก มีโต๊ะ 2 ตัว แยกจากกัน โต๊ะหนึ่ง เรียกว่า Resources Table อีกโต๊ะเรียกว่า Maths Table การเรียนการสอนของครูคนนี้จะเป็นแบบรูปธรรม ไปสู่นามธรรม มีการกระตุ้นนักเรียนให้คิด มีขั้นตอนการสอนคือ
1. สอนการบวกจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมคือ ใช้ถ้วย 1 อัน แทน 1 จำนวน เช่น เริ่มจากครูเขียนเลข 2 แล้วนักเรียนจะนำถ้วย 2 ใบ จาก Resources Table ไปยัง Maths Table เมื่อครูเขียนเลข 3 นักเรียนก็จะนำถ้วย 3 ใบ มาวางที่ Maths Table จากนั้นครูถามนักเรียนว่ามีถ้วยกี่ใบบน Maths Table ครูจะพยายามกระตุ้นนักเรียนให้คิด โดยชี้นิ้วเร็วๆ ไปยังถ้วยที่อยู่บนโต๊ะ (เหมือนการนับถ้วย) นักเรียนจะชอบกระบวนการนี้ เพราะจะมีลักษณะเป็นเกม ที่สอดแทรกหลักการบวก 
2. จากนั้น ครูสอนการบวกเลขจำนวนมากๆ ขั้นนี้จะยังคงใช้เลขเดิมเป็นฐาน แต่เพิ่มเลขศูนย์ลงไป เช่น 2000 + 3000 = 5000 ครูให้เด็กแสดงออกโดยทำมือว่าจำนวนดังกล่าวมันเยอะมาก เป็นการสอนที่ให้เด็กใช้ร่างกายแสดงความเยอะออกมา ให้สัมพันธ์กับตัวเลข การสอนแบบนี้จะทำให้นักเรียนรู้ความหมายของตัวเลขเหล่านั้นว่ามาก หรือน้อย การกางมืออกของเด็กเยอะๆ หมายความว่ามีจำนวนเยอะมาก เพราะเด็กวัยนี้มีจินตนาการสูง สามารถเล่นตามจินตนาการ นักเรียนจะชอบมาก 
3. ครูพยายามนำนักเรียนที่ไม่กล้าแสดงออกมา หรือยังไม่ค่อยเข้าใจ มาเรียนรู้หน้าชั้น เป็นการไม่ละทิ้งนักเรียนเหล่านั้น
4. ขณะเดียวกันครูมีการประเมินผลโดยให้นักเรียนเขียนคำตอบตามโจทย์ที่ครูเขียนบนกระดานลงบนไวท์บอร์ดของตน ครูจะเดินเช็คเป็นการประเมินว่านักเรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด (ประเมินแบบ formative evaluation) ขณะเดียวกันครูให้นักเรียนเปล่งสียงว่า ว่าตัวเลข บวกกันแล้วได้เท่าไร เป็นการสร้างการอ่านสัญลักษณ์ที่ถูกต้องผ่านการเปล่งเสียง
5. จากนั้น ครูเริ่มใช้การ์ดตัวเลข แทนถ้วย โดยเป็นเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นเลข 2 หลัก เช่น 30 , 20 จะเห็นว่าครูจะเริ่มจากการบวกเลขง่ายๆ ที่มีหลักหน่วยเป็นศูนย์ก่อน ครูนำการ์ดมาวางที่ Maths Table เป็นแนวนอน แล้วถามว่าจำนวน 2 จำนวนนี้บวกกันได้เท่าไร (30+20=50) จากนั้นครูเปลี่ยนเลขหลักหน่วยเป็นเลขอื่น คือ เปลี่ยนเลข 0 เป็นเลข 2 และ 1 ตามลำดับ (32+21=53) วิธีการนี้ เป็นวิธีการ Place value number นักเรียนจะเข้าใจวิธีการบวกเลข และคิดเลขได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องตั้งเลข แล้วบวกกัน






สรุปบทความ
เคล็ดลับ...สอนคณิตศาสตร์ให้ลูก 3 ขวบ
 
             เด็กวัย 2-3 ปี เป็นวัยที่สนใจสิ่งรอบตัวและชอบเลียนแบบ คุณสามารถสอนลูกเองได้ โดยบูรณาการเข้ากับชีวิตประจำวันในทุกทักษะ เช่น สอนลูกทำงานบ้าน ลูกจะเรียนรู้เรื่องกระบวนการ พัฒนาร่างกายและสมอง ตอนทำอาหาร ให้ลูกช่วยเด็ดผัก เวลาจัดโต๊ะอาหาร สอนนับจำนวนคน ช้อน แก้ว ชาม จาน สิ่งเหล่านี้เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของเด็ก การสอนให้ลูกจำตัวเลข ในวัย 3 ปี สื่อการสอนที่ต้องเตรียมคือบัตรตัวเลข 1-10 ซึ่งคุณครูมีตัวอย่างให้ลูกสังเกตและท่องเป็นคำคล้องจอง ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 ฝึกการสังเกตตัวเลข

เลข 1-เสาธง เลข 2-เหมือนเป็ด เลข 3-สองหยัก เลข 4-เก้าอี้
เลข 5-หลังคา เลข 6-ตะขอ เลข 7-ไม้เท้า เลข 8-แว่นตา เลข 9-หัวโต

ตัวอย่างที่ 2 คำคล้องจอง

1-2 ตีกลองตะลอกต๊อกแต๊ก
3-4 ดูให้ดี
5-6 ส่องกระจก

7-8 ยิงปืนแฝดดังโป้ง
9-10 กินกล้วยดิบปวดท้องร้องโอย

ตัวอย่างที่ 3 นิทานประกอบภาพ เรื่อง ?ตัวเลขทำอะไร?

(แต่งโดย อ.ชีวัน วิสาสะ) คือ 1 ขี่มด 2 รดน้ำต้นไม้ 3 หวีผม 4 ดมดอกไม้ 5 ขับเครื่องบิน 6 กินข้าว 7 เป่าปี่ 8 ตีกลอง 9 นอนหลับ 10 จับปลา

              หัวใจสำคัญในการสอนเด็กวัยนี้ต้องสอนจากรูปธรรม เด็กสามารถเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 แต่สำหรับการเขียนในวัย 2-3 ขวบ ยังไม่ควรฝึก เพราะการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตายังไม่พร้อม กล้ามเนื้อมือยังไม่แข็งแรง จะเป็นการฝืนพัฒนาการของลูกน้อย

                                             










สรุปวิจัย การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
               โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศสาตร์ของเด็กปฐมวัย 
                  โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย

ผู้เขียน      นางสาวสมศรี เป็งใจ

ปริญญา    ศึกษาศาสตรมหาบันฑิต (ประถมศึกษา)

คณะกรรมการที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ

                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประสิทธิ์  ม้าลำพอง
                  อาจารย์ไพบูลย์                         อุปันโน


การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
                       โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย

                 
                                                  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 

                   เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนอนุบาลปีที่2 โรงเรียนบ้านดอยเต่า ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2547 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบการด้วย แผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาความทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 12 แผน แผนละ 50 นาที แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ และแบบสังเกตพฤติกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละและการพรรณา
                 
                 ผลการศึกษาพบว่า
                
                 1.ได้แผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 12 แผน มีความสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กอายุ 5-6 ปี และมีความครอบคลุม เนื้อหาและประสบการณ์สำคัญ เรื่องจำนวนและการจัดประเภท

                 2.ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พบว่า ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้70% โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.25

                 3.พฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย ปรากฎว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาการด้าน
สติปัญญาดีขึ้น มีรูปแบบการคิดที่หลากหลาย มีพัฒนาการด้านร่างกายเหมาะสมตามวัย มีการแสดงความคิดเห็น พูดได้ตอบกับเพื่อนในขณะที่เล่นได้ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีในขณะที่เล่น


           
               
                












วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่1 วันศุกร์ ที่13 เดือนมกราคม พ.ศ.2559 เวลาเรียน13.30-17.30น


เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้เป็นวันแรกในการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ได้แจกกระดาษ 1แผ่น แล้วให้นักศึกษาแบ่งให้เป็น 3ส่วน ให้เขียนจุดเด่นของตนเองลงใน
กระดาษพร้อมบอกชื่อและจังหวัดเกิดของตนเอง  จากนั้นอาจารย์ก็พูดเกี่ยวกับการทำบล็อกว่าในบล็อกว่าควรมีอะไรบ้างที่ทำให้น่าสนใจค่ะ

ทักษะ
  • ฝึกทักษะการฟังและการพูด
  • ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
  • การแก้ปัญหา
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำไปใช้ในวิชาอื่นๆได้
  • สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
     - ห้องเรียนเย็นมากและมีแต่เสียงหัวเราะ สนุกดีค่ะ

ประเมินวิธีการสอน
     - อาจารย์มีวิธีการสอนที่หลากหลายมาก สอนให้เรารู้จักคิดและรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น

คุณธรรมจริยธรรม
  • ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  • ไม่พูดคุยในขณะอาจารย์สอนอยู่
  • ตรงต่อเวลา
  • มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง